สาระน่ารู้ ในเรื่องที่เป็นสาระและน่าเรียนรู้

          สิ่งที่เรารู้ บางครั้งนั้นอาจจะจำกัดขอบเขตที่แคบจนเกินไป จนบางครั้งท่านอาจจะมองว่าคุณรู้แล้วและเข้าใจมันอย่างถ่องแท้ หลายท่านมักจะคิดแบบนี้เสมอ ซึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนๆที่ถือตัวว่าตัวเองเก่งและไม่ยอมที่จะเรียนรู้อะไรอีกเพิ่มเติมอย่างที่ท่านเข้าใจกันได้ดีเกี่ยวกับคำว่า น้ำเต็มแก้ว ถ้าหากว่าว่าคุณเป็นคนๆหนึ่งที่กำลังคิดว่าตัวเองรู้เรื่องนั้นๆอย่างดี ลองคิดใหม่และหันมาหาความรู้หรือหาสาระน่ารู้ให้มากที่สุดยิ่งขึ้นคุณจะรู้ว่ามีอะไรไม่น้อยกว่าที่คุณคิด สาระน่ารู้นั้นนั้นมีหลากหลาย แล้วแต่ว่าจะสนใจ แต่ว่าสำหรับบทความนี้จะอธิบายดังนี้

          -สาระน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น เรื่องของการวิวัฒนาการของคน ที่กำเนิดขึ้นมาแต่ในอดีตกาล จนถึงปัจจุบัน ผ่านยุคต่างๆ อย่างเช่น ยุดสำริด ยุคเหล็ก การใช้เครื่องมือเหล่านี้เป็นการสะท้อนเรื่องราวการดำรงชีวิตที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ การพิสูจน์อายุของเครื่องมือเครื่องใช้ที่ขุดพบ สิ่งเหล่านี้เป็นสาระน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์แทบทั้งนั้น
          -สาระน่ารู้ทางคณิตศาสตร์ เป็นการคำนวณ การมีเทคนิคพิเศษที่จะคิดหรือว่าวิธีการทางคณิตศาสตร์อย่างอื่นที่ส่งผลลัพธ์ออกมาน่าสนใจ ตัวอย่างง่ายๆคือการคูณเลขด้วยนิ้วมือของเรา นึกภาพให้ออกนะค่ะหงายมือทั้งสิบนิ้วของท่าน
หากว่าเราขยับนิ้วหัวแม่มือด้านซ้ายเราจะเหลือ 9 นั่นคือ
9x1=9
ถ้าหากว่าเรางอนิ้วชี้มือซ้ายเข้ามานิ้วเดียวคุณจะได้ช่องว่างกลายเป็น
9x2=18
          -สาระน่ารู้ทางเทคโนโลยี อย่างเช่น เรื่องของเทคโนโลยีใหม่ๆของการผลิตเครื่องมือสื่อสารอย่างเช่น โทรศัพท์ที่เริ่มมีการใช้ระบบสัญญาณส่งข้อมูลด้วยระบบ 3จี หรือ 4จี สาระน่ารู้เหล่านี้เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวคุณและเราก็ใช้มันแต่ว่าใช้โดยส่วนมากจะเป็นทางอ้อมท่านจึงมักคิดว่าไม่น่ารู้เท่าไหร่นักแต่จริงๆแล้วเรารู้ไว้น่าจะดี
          -สาระน่ารู้ทางดาราศาสตร์ มองท้องฟ้าเห็นแต่เพียงดาวกับดวงจันทร์ แต่บางท่านไม่เคยรู้ด้วยซ้ำไปว่า ดาวที่เราเห็นนั้นคือดาวอะไร กลุ่มดาวไหน คุณใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ดาราศาสตร์จงเป็นสาระน่ารู้ที่เราควรจะใส่ใจเมื่อมีโอกาส
          สาระน่ารู้ เป็นเรื่องที่น่าสนใจ เป็นเรื่องที่หลายท่านอาจจะไม่เคยได้เรียนรู้หรือว่ารู้มาก่อนด้วยซ้ำหรืออย่างที่กล่าวมาตอนต้นว่าบางครั้งท่านที่รู้เรื่องนั้นๆดีแล้วก็ยังอาจจะไม่รู้เลยก็ได้ สาระน่ารู้เรียนรู้ได้หลากหลาย ยิ่งในเวลานี้นี้เรื่องของข้อมูลข่าวสารเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็วมากๆยิ่งขึ้นการที่คุณจะเข้าถึงสาระน่ารู้เรื่องต่างๆบางครั้งไม่จำเป็นต้องไปหา เพียงมีมือถือบางครั้งมีข้อความส่งมาหาเราเองโดยส่งแบบอัตโนมัติ

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง : http://harpistdianeomalley.com

Tags : สาระน่ารู้

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC คืออะไร

          สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) หรือ ประชาคมอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย พม่า ลาว เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และ บรูไน เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและขีดความสามารถการแข่งขันของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ รวมถึงให้อาเซียนมีความแข็งแกร่ง มีภูมิต้านทานที่ดี ในการรับมือกับปัญหาใหม่ ๆ ระดับโลก
          ประชาคมอาเซียน เปรียบกับการเป็นครอบครัวเดียวกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 พร้อมกับมีการร่วมลงนามในปฏิญญาให้เป็นประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายใน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) พร้อมกับมีการแบ่งประชาคมย่อยออกเป็น 3 ประชาคม หรือ 3 เสาหลัก ได้แก่
 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community – APSC)
 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Community – AEC)
 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (Asean Socio-Cultural Community – ASCC)
          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน คืออะไร หรือ AEC คืออะไร หลายคนอาจจะยังสงสัย วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับคำว่า ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC กันค่ะ
ความเป็นมาพอสังเขป
          ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เกิดขึ้นมาจากการพัฒนาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เนื่องจากสมาชิกอาเซียนเห็นว่า ปัจจุบันอาเซียนมีจำนวนประเทศ 10 ประเทศ ประชากรเกือบ 500 ล้านคน ดังนั้นถือว่าเป็นเศรษฐกิจภูมิภาคขนาดใหญ่ จึงควรร่วมมือกัน เพื่อทำให้อาเซียนมีความเข้มแข็งในด้านต่าง ๆ มากขึ้น เหตุนี้เอง อาเซียนจึงกลายสภาพเป็น เออีซี ในที่สุด โดยจะก่อตั้งเออีซีอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2558 เลื่อนเข้ามาจากเดิมคือ พ.ศ. 2563
          อย่างไรก็ตาม อนาคตข้างหน้า เออีซีมีแนวโน้มขยายเป็น อาเซียน +3 คือ เพิ่ม จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก่อนที่จะเป็น อาเซียน +6 โดยเพิ่ม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
          AEC หรือ ASEAN Economic Community ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเป้าหมายการรวมตัวกันของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองกับคู่ค้า และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจระดับโลก รวมถึงมีการยกเว้นภาษีสินค้าบางชนิดให้กับประเทศสมาชิก ส่งเสริมให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง มั่นคง ประชาชนอยู่ดีกินดี
          โดยในการประชุมสุดยอดอาเซียน ASEAN Summit ครั้งที่ 8 เมื่อ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ที่ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทาง ได้มีการดำเนินงานที่แน่ชัดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจน ได้แก่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยจะมีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน และจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรีสำหรับการตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้กำหนดให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 ( ค.ศ. 2015)
เป้าหมายสำคัญของ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC มี 4 ด้าน คือ
     1. เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน (Single Market and Production Base)
 เพื่อเคลื่อนย้ายสินค้า  บริการ  ลงทุน  แรงงานฝีมือ  เงินทุน  อย่างเสรี
 ส่วนนี้ จริงๆ เป็นการดำเนินตามพันธกรณีที่ได้ตกลงและดำเนินการมากันอยู่แล้ว ทั้ง
          * AFTA (ASEAN Free Trade Area) เริ่มปี 2535 (1992)
          * AFAS (ASEAN Framework Agreement on Services) กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ลงนามปี 2538 (1995) ได้เจรจาเปิดเสรีเป็นรอบๆ เจรจาไปแล้ว 5 รอบ
          * AIA (ASEAN Investment Area) กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการ ลงนามและมีผลตั้งแต่ 2541 (1998)
     2. สร้างขีดความสามามารถทางเศรษฐกิจ (High Competitive Economic Region)
 ให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบาย ที่ช่วยการรวมกลุ่ม  เช่น นโยบายการแข่งขัน นโยบายภาษี , ทรัพย์สินทางปัญญา, พัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน
 ร่วมกันดำเนินการโดยแลกเปลี่ยนข้อมูล  ฝึกอบรมบุคคลากรร่วมกัน
     3. สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Equitable Economic Development)
 สนับสนุนการพัฒนา SMES
 สร้างขีดความสามารถผ่านโครงการที่มีอยู่แล้ว
     4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก (Fully Integrated into Global Economy)
 เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจอาเซียนกับนอกภูมิภาค เช่น ทำ FTA
กรอบความร่วมมือ
          สำหรับกรอบความร่วมมือ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนเมื่อวันที่ 21-22 กันยายน 2547 ที่กรุงเทพฯ สามารถหาข้อสรุปในสาระสำคัญเกี่ยวกับมาตรการร่วมที่จะใช้กับการรวมกลุ่มสินค้าและบริการ ได้แก่ การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน การอำนวยความสะดวกด้านการค้า และการลงทุนและการส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่น ๆ ดังนี้
          (1) การค้าสินค้า - จะเร่งลดภาษีสินค้าใน Priority Sectors (เกษตร/ประมง/ผลิตภัณฑ์ไม้/ผลิตภัณฑ์ยาง/สิ่งทอ/ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์/เทคโนโลยีสารสนเทศ/สาขาสุขภาพ) เป็น 0% เร็วขึ้นจากกรอบ AFTA เดิม 3 ปี คือ จาก 2010 เป็นปี 2007 สำหรับสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ และ ปี 2015 เป็น 2012 สำหรับประเทศ CLMV โดยได้กำหนดเพดานสำหรับสินค้าทั้งหมดใน Priority Sectors ไม่ต้องการเร่งลดภาษี (Negative List) ไว้ที่ 15%
          (2) การค้าบริการ - จะเร่งเปิดเสรีสาขาบริการใน Priority Sectors (สาขาสุขภาพ, e-ASEAN, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ) ภายในปี ค.ศ. 2010 ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X formula ได้
          (3) การลงทุน - จะเร่งเปิดการลงทุนในรายการสงวน (Sensitive List) ภายในปี 2010 สำหรับอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ปี ค.ศ. 2013 สำหรับเวียดนามและ 2015 สำหรับกัมพูชา ลาว และพม่า ทั้งนี้ ให้ใช้ ASEAN-X formula ได้ และส่งเสริมการผลิตในอาเซียนโดยการจัดตั้งเครือข่าย ASEAN free trade zones เพื่อส่งเสริมการซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่ผลิตในอาเซียน (outsourcing) และดำเนินมาตรการร่วมเพื่อดึงดูด FDI
          (4) การอำนวยความสะดวกด้านการค้าและการลงทุน - ซึ่งประกอบด้วยเรื่องต่างๆ คือ กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากร มาตรฐาน (standard and conformance) การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง และ logistics service สำหรับการขนส่ง การอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน และ การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพ และ แรงงานมีฝีมือ
          (5) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในด้านอื่น ๆ เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของอาเซียน 11 สาขากำหนดมาตรการร่วม ซึ่งคาบเกี่ยวกับทุกสาขาเช่นเดียวกับในกรอบความตกลงฯ และมาตรการเฉพาะสำหรับการรวมกลุ่มแต่ละสาขานั้นๆ โดยรวมอยู่ในแผนการรวมกลุ่ม (Road map) ซึ่งผนวกอยู่กับพิธีสารฯ
          ขณะที่ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน (Framework Agreement for the Integration of the Priority Sectors) และรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มรายสาขาของ อาเซียน 11 ฉบับ (ASEAN Sectoral Integration Protocol) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ที่เวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2547
          ทั้งนี้ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 10 ทุกประเทศย้ำความสำคัญของการดำเนินการต่างๆ เพื่อนำไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2563 (ค.ศ. 2020) ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดการรวมตัวของอาเซียนให้เร็ว ขึ้น โดยอาจให้สำเร็จภายในปี 2555 (ค.ศ. 2012) และได้เสนอแนวทางต่างๆ เพื่อช่วยเร่งรัดการรวมตัว เช่น การใช้วิธีการ Two plus X ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เคยเสนอความจำเป็น และแนวทางนี้มาแล้วเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546 ระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ที่บาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ก็ได้สนับสนุนข้อเสนอแนะของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีของไทย ที่ให้เร่งรัดการจัดตั้ง AEC ด้วย
การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง
          การรวมกลุ่มสินค้าและบริการ 11 สาขานำร่อง ถือว่าเป็นการเปิดเสรีด้านการค้าและบริการ เพื่อส่งเสริมการแบ่งงานกันผลิตสินค้าและบริการภายในอาเซียนด้วยกัน โดยจะเน้นใช้วัตถุดิบภายในอาเซียนเป็นหลัก ตามความถนัด เนื่องจากแต่ละประเทศมีวัตถุดิบที่ไม่เหมือนกัน ถ้าจะให้ผลิตทุกอย่าง จะเป็นการเพิ่มต้นทุนสินค้าแบบเสียเปล่า
  สำหรับ 11 สาขานำร่องมีดังนี้
          1. สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร
          2. สาขาประมง
          3. สาขาผลิตภัณฑ์ยาง
          4. สาขาสิ่งทอ
          5. สาขายานยนต์
          6. สาขาผลิตภัณฑ์ไม้
          7. สาขาอิเล็กทรอนิกส์
          8. สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
          9. สาขาสุขภาพ
          10. สาขาท่องเที่ยว
          11. สาขาการบิน
          อย่างไรก็ตาม ภายหลังได้เพิ่มสาขาที่ 12 ได้แก่ สาขาโลจิสติกส์ เพื่อทำให้การขนส่งวัตถุดิบต่าง ๆ ทำได้สะดวกมากขึ้น
  เมื่อแบ่งทั้ง 12 สาขา ตามประเทศที่รับผิดชอบ สามารถแบ่งได้ ดังนี้
          1. พม่า สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร และสาขาประมง
          2. มาเลเซีย สาขาผลิตภัณฑ์ยาง และสาขาสิ่งทอ
          3. อินโดนีเซีย สาขายานยนต์ และสาขาผลิตภัณฑ์ไม้
          4. ฟิลิปปินส์ สาขาอิเล็กทรอนิกส์
          5. สิงคโปร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาสุขภาพ
          6. ไทย สาขาการท่องเที่ยวและสาขาการบิน
          7. เวียดนาม สาขาโลจิสติกส์
ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
          1. ขยายการส่งออกและโอกาสทางการค้า จาการยกเลิกอุปสรรคภาษีและที่มิใช่ภาษีจะเปิดโอกาสให้สินค้า เคลื่อนย้ายเสรี
          2. คาดว่า การส่งออกไทยไปอาเซียนจะสามารถขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 18 - 20% ต่อปี
          3. เปิดโอกาสการค้าบริการ ในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็ง เช่น ท่องเที่ยว โรงแรมและร้านอาหาร สุขภาพ ทำให้ไทยมีรายได้จากการค้าบริการไปต่างประเทศเพิ่มขึ้น
          4. สร้างเสริมโอกาสการลงทุน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้เสรียิ่งขึ้น อุปสรรคการลงทุนระหว่างอาเซียน จะลดลง อาเซียนจะเป็นเขตการลงทุนที่น่าสนใจทัดเทียมจีนและอินเดีย
          5. เพิ่มพูนขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย เมื่อมีการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน/เป็นพันธมิตรทางธุรกิจร่วมกับอาเซียนอื่น ทำให้เกิดความได้เปรียบเชิงแข่งขัน (Comparative Advantage) และลดต้นทุนการผลิต
          6. เพิ่มอำนาจการต่อรองของไทยในเวทีการค้าโลก สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาคมโลก
7. ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศ ผลการศึกษา แสดงว่า AEC จะทำให้รายได้ที่แท้จริงของอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 หรือคิดเป็นมูลค่า 69 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลกระทบของประเทศไทยจากการเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
          1. การเปิดตลาดเสรีการค้าและบริการย่อมจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันต่ำ
          2. อุตสาหกรรมและผู้ประกอบการในประเทศต้องเร่งปรับตัว
ข้อเสนอแนะในการเตรียมตัวของไทยสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC
          แนวทางที่ประเทศไทยควรเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นหากมีการรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC คือ ภาครัฐเองไม่ได้นิ่งนอนใจต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะกิจการ/อุตสาหกรรมที่ไม่มีความ พร้อมในการแข่งขัน โดยแผนงานรองรับผลกระทบที่ได้มีการดำเนินงานมาแล้ว ได้แก่
          1. การจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี ทางการค้า (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2550) เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิต และผู้ประกอบการสินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าอุตสาหกรรม และบริการ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าให้สามารถปรับตัวหรือปรับเปลี่ยนให้สามารถแข่งขันได้
          2. มาตรการป้องกันผลกระทบ ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอจัดทำกฎหมายซึ่งได้ผ่านสภานิติบัญญัติออกมาเป็น พรบ. มาตรการปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น (Safeguard Measure) ซึ่งหากการดำเนินการตาม AEC Blueprint ก่อให้เกิดผลกระทบก็สามารถนำกฎหมายนี้มาใช้ได้
          3. การจัดตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินการตามแผนงานไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ตามคำสั่ง กนศ. ที่ 1/2550 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2550) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนงานและเตรียมการรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในการดำเนินงานไปสู่การเป็น AEC โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  aec.kapook.com

เกี่ยวกับ"คณะบริหารธุรกิจ"

คณะบริหารธุรกิจ


ประวัติความเป็นมา

               คณะบริหารธุรกิจสถาบันรัชต์ภาคย์ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช2536 เนื่องจากเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้เกิดความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านบริหารธุรกิจเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการบุคลากรในสาขาวิชาทางด้านบริหารธุรกิจและการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาลัยจึงจัดตั้งคณะบริหารธุรกิจขึ้นประกอบด้วย 4 สาขาวิชา คือสาขาวิชาการเงิน สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการตลาด และสาขาวิชาการจัดการทั่วไป ต่อมาทางสถาบันรับสมัครนักศึกษาสาขาวิชาการเงิน และเปิดสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจเพิ่มอีกหนึ่งสาขาวิชา
               ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2543 และในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2548 ได้เปิดสอนในสาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและโรงแรม โดยมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจที่มีคุณภาพเพื่อรับใช้สังคมตลอดจนพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการและเผยแพร่ความรู้สู่สังคม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป

ปรัชญา

               คณะบริหารธุรกิจ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทั้งทางด้านการบริหาร การจัดการวิชาการ พร้อมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรมภายใต้พื้นฐานของการพัฒนาจิตสำนึกที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองและเป็นกำลังของประเทศชาติโดยรวมต่อไปในอนาคต

วิสัยทัศน์

               คณะบริหารธุรกิจ เป็นคณะที่มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความสมบูรณ์ ตั้งมั่นในวัฒนธรรมคุณภาพ มีความรู้ความสามารถทางด้านบริหารธุรกิจ การจัดการธุรกิจด้วยวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย พร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรมมีจิตสำนึกในความเป็นไทย สามารถดำรงชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
ภารกิจหลัก

               โครงการในแผนงานประจำปีการศึกษาทุกปีการศึกษา ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาคณะบริหารธุรกิจ เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการอุดมศึกษา 3 ด้าน ได้แก่มาตรฐานด้านคุณภาพบัณฑิตมาตรฐานด้านการบริหารจัดการการอุดมศึกษาและมาตรฐานด้านการสร้างและพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

               ดังนั้น คณะบริหารธุรกิจได้มีการจัดทำแผนงานประจำปีการศึกษา 2554โดยแต่ละสาขาวิชาเป็นผู้นำเสนอแผนงานของแต่ละสาขาซึ่งประกอบไปด้วยแผนงานดังต่อไปนี้
  1. โครงการการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษา
  2. โครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ เพื่อให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ด้านกระบวนการปฏิบัติงานจริง จะได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและในการทำงานได้
  3. โครงการจัดซื้อหนังสือ เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษามีตำรา เอกสาร หนังสือ สำหรับค้นคว้าเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
  4. โครงการพัฒนาอาจารย์ เพื่อให้อาจารย์ได้รับความรู้และประสบการณ์เพิ่มเติมทันต่อการเปลี่ยนแปลงไปของโลกธุรกิจในปัจจุบันจะได้นำมาปรับปรุง เพิ่มเติม การสอนให้สอดคล้องกับความต้องการขององค์กรธุรกิจ
  5. โครงการวิจัยและส่งเสริมวิชาการ เพื่อให้อาจารย์ได้เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ หรือการขอตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อนำมาพัฒนาศักยภาพให้กับสาขาวิชาต่อไป
  6. โครงการบรรยายพิเศษหรือการฝึกภาคปฏิบัติ ตามความจำเป็นของแต่ละสาขาวิชา เช่น การบัญชี การท่องเที่ยวและการเรียนรู้
วัตถุประสงค์
  1. มุ่งเน้นการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องรับกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
  2. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะตรงตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจ
  3. เป็นคณะที่มีการจัดการศึกษาได้มาตรฐานในระดับที่ได้รับการยอมรับจากสังคม
พันธกิจ

               คณะบริหารธุรกิจ ยึดมั่นในภารกิจหลักสถาบันรัชต์ภาคย์ คือ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพความรู้ความสามารถทางด้านการบริหารจัดการ โดยการส่งเสริมให้นักศึกษาค้นคว้าวิจัยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เสริมสร้างประสบการณ์จริง พร้อมทั้งให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

เกี่ยวกับ"คณะวิศวกรรมศาสตร์"

คณะวิศวกรรมศาสตร์


ประวัติความเป็นมา

               คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยรัชต์ภาคย์ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2536 เนื่องจากเศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งภาครัฐและเอกชน ส่งผลให้เกิดความต้องการพัฒนาบุคลากรด้านวิศวกรเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการบุคลากรในสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาลัยรัชต์ภาคย์จึงจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์ขึ้นประกอบด้วย 2 สาขาวิชาคือ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล และ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ต่อมาทางวิทยาลัย ได้มุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตทางด้านวิศวกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อรับใช้สังคมตลอดจนพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการและเผยแพร่ความรู้สู่สังคม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นต่อไป

ปรัชญา

               ผลิตวิศวกรที่สนองความต้องการของตลาดและมีจิตสำนึกแห่งคุณธรรม

ปณิธาน

               ผลิตวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถและมีจิตสำนึกแห่งคุณธรรมที่แท้จริง

วิสัยทัศน์

               คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาลัยรัชต์ภาคย์ มุ่งผลิตวิศวกรที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาดในภาคอุตสาหกรรม และดำเนินการให้บริการทางวิชาการด้านวิศวกรรมแก่ภาครัฐและเอกชน พันธกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ยึดแนวทางปณิธานการก่อตั้งวิทยาลัยบนรากฐานในการผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและมีคุณธรรมอย่างแท้จริง ตามปรัชญาข้างต้น โดยมุ่งเน้นป้จจัย 3 ประการคือ นักศึกษา ขบวนการศึกษา และความรู้ด้านวิชาการโดยจัดการศึกษาเพื่อสร้างนักศึกษาที่เป็นพลเมืองที่ดี มีความรู้ดี ประกอบด้วยความรู้ที่ก้าวหน้าทันสมัย เป็นผู้มีจริยธรรมสูง และสร้างความรู้ในลักษณะองค์รวม ควบคู่กับความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อเป็นประโยชน์ส่วนตัวและสังคมประเทศชาติ

วัตถุประสงค์
  1. จัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อผลิตวิศวกร ในระดับปริญญาตรีในสาขาวิชา วิศวกรรมเครื่องกลและสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
  2. จัดกิจกรรมเสริมความรู้นอกหลักสูตรเพื่อพัฒนาความคิด กระบวนการความรู้และความคิดไป ประยุกต์ใช้ในการทำงาน
  3. จัดอาจารย์ที่มีศักยภาพเหมาะสม มีการพัฒนาตนเองสม่ำเสมอและก้าวทันเทคโนโลยี
  4. จัดให้มีการบริหารงานที่มีการกระจายอำนาจ หน้าที่และความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม
  5. จัดหาเทคโนโลยีทางการศึกษาที่เพียงพอและเหมาะสมเท่าทันกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
  6. เสริมสร้างคุณธรรมและศีลธรรมที่ดีงามแก่นักศึกษาและคณาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์
  7. ส่งเสริมให้บุคลากรในคณะผลิตผลงานทางวิชาการที่มีประโยชน์ต่อสังคม
นโยบายการบริหารงาน

               คณะวิศวกรรมศาสตร์มีนโยบายการบริหารงานที่เป็นมาตรฐานเพื่อรักษาคุณภาพของการทำงานและการพัฒนาทางด้านความรู้ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องให้ก้าวทันยุคโลกาภิวัฒน์และเทคโนโลยีโดยผู้บริหารเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถเข้าใกล้องค์ความรู้โดยจัดให้มีคณาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้
  1. จัดกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความรู้ ทักษะด้านวิศวกรรมแก่นักศึกษา
  2. ให้บริการความรู้ และเทคโนโลยีแก่สังคม
  3. ส่งเสริมศีลธรรม คุณธรรม แก่นักศึกษาด้านวิชาชีพวิศวกรรม และด้านอื่น ๆ
  4. ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ด้วยความรู้ด้านวิศวกรรม
  5. สร้างผลงานทางวิชาการ และผลงานวิจัย
  6. พัฒนาหลักสูตร และรายวิชาที่เหมาะสมกับความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน
  7. พัฒนาศักยภาพอาจารย์และบุคลากรอย่างเหมาะสมเพื่อบริการนักศึกษาและสังคม
กลยุทธ์ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
               คณะวิศวกรรมศาสตร์มีพื้นฐานบนรากฐานความคิดที่จะมุ่งผลิตวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมอย่างแท้จริง พร้อมมุ่งส่งเสริมการสร้างความรู้ในลักษณะองค์รวมควบคู่กับความเป็นเลิศทางวิชาการ เพื่อเป็นประโยชน์ส่วนตัวและสังคมประเทศชาติอีกทั้งปลูกฝังจิตสำนึกในความเป็นไทย ด้วยการส่งเสริมด้านศิลปวัฒนธรรมไทยเพื่อเป็นเอกลักษณ์ของชาติสืบต่อไป
การศึกษาคืออะไร

การศึกษาคืออะไร อาจเป็นเรื่องที่น่าเบื่อแต่ก็ต้องรู้เพราะเกี่ยวข้องกับกับผู้ที่มีส่วนในการจัดการการศึกษาทั้งหมดซึ่งได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ โดยจะขอเล่าเป็นตอนๆ ดังนี้
  • พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
  • กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ( NQF)
  • ผลการเรียนรู้ของบัณฑิต (Domains of Learning)
  • วิชาศึกษาทั่วไป (General Education)
  • มนุษย์กับการศึกษา : พัฒนาการบุคลิกภาพมนุษย์/จริต 6
การศึกษา ตาม พรบ.แห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายความว่า
  • กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ
  • การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (มาตรา 4)
  • เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (มาตรา 6)
การจัดการศึกษา จะต้อง
  • ต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (มาตรา 22)
  • เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสม (มาตรา 23)
มาตรา 24
  • ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล (1)
  • ต้องฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา (2)
  • จัดกิจกรรมให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ
  • ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (3)
  • จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกันรวมทั้งปลูกฝังคุณธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา (4)
การศึกษา (Education) คืออะไร
  • การศึกษาคือ การสอนและการวัดผลแบบมีครูและตำราเป็นศูนย์กลาง และเน้นการท่องจำตามคำบรรยาย/ตำรา เป็นการเพิ่มพูนปริมาณองค์ความรู้แบบสำเร็จรูป และ/หรือ
  • การศึกษาคือ กระบวนการเรียนรู้ (Learning process) ซึ่งประกอบด้วย การคัดเลือก การตีความสร้างสรรค์ และนำความรู้ใหม่ของผู้เรียนแต่ละคน ไปประยุกต์ใช้ในชีวิต การแก้ปัญหา และการทำงานต่างๆ
การเรียนรู้ (Learning)
  1. หมายถึง กระบวนการที่ประสบการณ์ตรงและประสบการณ์ทางอ้อมกระทำให้อินทรีย์ เกิดการเลี่ยนแปลง 
  2. หมายถึง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อันเนื่องมาจากได้รับประสบการณ์ (Experience) ประสบการณ์ (Experience) คือ การที่บุคคลใช้ประสาทสัมผัสปะทะ (Interaction) กับสิ่งแวดล้อม(Environment) ซึ่งประกอบด้วย สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางสังคม (มนุษย์ด้วยกัน) และสิ่งแวดล้อมทางขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่บุคคลปะทะแล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
          ปกติสภาพแวดล้อมมีทั้งดีและไม่ดี สิ่งแวดล้อมที่ดีจะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดี ในทางตรงข้ามถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดีก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางไม่ดี ทั้งนี้เมื่อพันธุกรรมเป็นตัวคงที่ ดังนั้นถ้าต้องการให้บุคคลเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางดี (การศึกษา–เจริญงอกงาม) จึงไม่อาจปล่อยให้บุคคลไปปะทะกับสิ่งแวดล้อมโดยอิสระ จำเป็นต้องจัดสถานการณ์เฉพาะให้บุคคลปะทะถึงสิ่งแวดล้อมที่ดีและนี่คือที่มาของการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาจุดมุ่งหมายสำคัญก็เพื่อให้มีการสอนที่ถูกต้องชัดเจน
ระบบการเรียนการสอน

ระบบการเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่เป็นตัวป้อน กระบวนการ และ ผลผลิต
  1. ตัวป้อน ได้แก่ ครู หรือผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ วัสดุอุปกรณ์
  2. กระบวนการ ได้แก่ การดำเนินการสอน การตรวจสอบความรู้พื้นฐาน การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ
  3. ผลผลิต ได้แก่ ผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย
ความหมายของการสอน
  • การสอน หมายถึง การถ่ายทอดความรู้
  • การสอน หมายถึง การจัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  • การสอน หมายถึง การฝึกให้ผู้เรียนคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ
  • การสอน หมายถึง การแนะแนวทางแก่ผู้เรียนเพื่อให้ศึกษาหาความรู้
  • การสอน หมายถึง การสร้างหรือการจัดสถานการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  • การสอน หมายถึง กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่จะนำความรู้ไปใช้ ให้เกิดทักษะหรือความชำนาญที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  • การสอน หมายถึง การจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมให้นักเรียนได้ปะทะ เพื่อที่จะให้เกิดการเรียนรู้ หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น การสอนจึงเป็นกระบวนการสำคัญที่ก่อให้เกิดการเจริญงอกงาม

ที่มา. http://www.sc.psu.ac.th/regis/VDO/what%20edu.doc
ที่มา. http://www.km.skn.go.th/?name=research&file=readresearch&id=17
เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาต่อ ระดับปริญญาตรี และ ปริญญาโท ในโครงการภาคพิเศษสำหรับนักบริหาร {Program for Executive}
(เรียนวันเดียว เฉพาะวันเสาร์ / วันอาทิตย์)แบบ Block Course ทำให้สามารถจบ ตามหลักสูตร ตามวัน และ เวลา ได้ภายในกำหนดที่แน่นอน
สอบถาม.โทร. 089 455 7878 | 02 926 7121 | E-mail : thetrainingedu@gmail.com | Line ID : 15edu

Social Network
 Twitter Facebook Google Plus Youtube